แอ๊ะแอ้...คิดถึงนะ
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
แนะนำตัว
Santorini Park
เป็นสวนน้ำ ที่เหมาะสำหรับครอบครัว บรรยากาศดี
สนุกสนานเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เหมาะกับการ
พักผ่อนคลายร้อน
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ของทานเล่น มีประโยชน์อย่างไร
1. อัลมอนด์
อัลมอนด์เป็นเมนูที่ใช้ทานเป็นขนมขบเคี้ยวได้ดี มีประโยชน์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนและไขมันที่น่าพอใจ มีโปรตีนที่มากที่สุดในบรรดาถั่วอื่นๆ อุดุมไปด้วยวิตามิน มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid) ซึ่งช่วยเพิ่มระดับ HDL (High-Density Lipoproteins) หรือไขมันดี และช่วยลดระดับ LDL (Low-Density Lipoproteins) หรือไขมันเลวเมื่อนำมาทานเล่นเป็นขนมขบเคี้ยวก็ทานอร่อยได้เพลินทีเดียวเชียวค่ะ
2. Low-Fat ป็อปคอร์น
ขึ้นต้นด้วยคำว่า Low Fat แน่นอนว่าป็อปคอร์นนี้จะต้องมีแคลอรี่น้อย และ ไม่ทำให้เราอ้วนแน่ๆ เมื่อนำมาทานเล่นเพลินๆ เป็นขนมขบเคี้ยว จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเลยที่จะนำมาไว้บนโต๊ะทำงานของเรา ยามไหนเหนื่อย ยามไหนหิว เบื่อ ก็หยิบป็อปคอร์น Low-Fat นี้มาทานเล่นกันได้ตลอดเลยค่ะ
3. ผลไม้สด
ผลไม้นั้นเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีความหวานที่เป็นธรรมชาติ แม้ว่าจะมีน้ำตาลไปบ้าง แต่เป็นก็ยังอุดุมไปด้วยวิตามิน ซึ่งดีต่อร่างกายเราอยู่ดี
4. ผลไม้ตากแห้ง
ผลไม้ตากแห้งเป็นตัวเลือกที่ดีอีกอย่างสำหรับใช้ทานเป็นขนมขบเคี้ยวยามหิวค่ะ ซึ่งหากใครสนใจอยากทานผลไม้แห้ง เราก็แนะนำนำว่าลองทานพวกแอปริคอตตากแห้ง ลูกเกด กล้วย หรือ แอปเปิ้ลตากแห้งกันดูค่ะ เพราะผลไม้ตากแห้งเหล่านี้จะมีเส้นใยสูงและมีโพแทสเซียมสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งดี มีประโยชน์
5. ซีเรียล หรือ ธัญพืชแบบเปล่าๆ ไม่เติมนม
มีคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ให้พลังงานที่เหมาะสม แต่มีน้ำตาลและไขมันน้อย อีกทั้งยังมีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อนำมาเป็นขนมทานเล่นเปล่าๆ กรุบกรอบ ไม่ต้องเติมนม จึงมีประโยชน์ต่อร่างกายไม่น้อย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช่ซีเรียลอีกประเภทที่มีการเคลือบน้ำตาล เคลือบคาราเมลแบบนั้นนะคะ ถ้าเช่นนั้นเราไม่ควรนำมาทานเล่นกันค่ะ เพราะมีน้ำตาล อาจทำเอาเราอ้วนได้ง่ายๆ เลยค่ะ
6. แท่งโปรตีน
แท่งโปรตีนก็เป็นขนมทานเล่นบนโต๊ะทำงานอีกอย่างที่มีประโยชน์ได้ไม่น้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หนุ่มๆ สาวๆ ที่เลือกแท่งโปรตีนเป็นขนมขบเคี้ยว ก็แนะนำว่าควรเลือกแท่งโปรตีนที่มีผลไม้และถั่วน้อยกว่า 200 แคลอรี่มาทานเล่นเพลินๆ กันนะคะ
7. ขนมอบกรอบที่ทำจากข้าว
เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในบรรดาขนมขบเคี้ยวที่มีประโยชน์ที่เราน่าหามาไว้บนโต๊ะทำงาน กินเพลินๆ ยามว่างกันค่ะ เพราะมีแคลอรี่ต่ำ มีรสชาติที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมดูส่วนผสมต่างๆ ด้วยนะคะ เผื่อว่ารสชาติที่คุณต้องการทานจะเป็นรสหวาน มีส่วนผสมของน้ำตาลที่มากเกินไป อันนี้ก็ไม่ดีค่ะ
การนอน
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลัง จากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี อันที่จริงการนอนมากเกินไปกลับมีผลเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลนี้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนหลับน่าจะมีผลดีในการนำความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญของการนอนหลับ
การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย สมอง แม้กระทั่งจิตใจ โดยเราจะสังเกตได้ว่า วันใดก็ตามที่เราอดนอน สมองจะไม่ค่อยแล่น คิดอะไรไม่ค่อยออก มักใช้เวลานานกว่าปกติในการทำอะไรก็ตาม ส่วนเรื่องอารมณ์ก็ไม่ค่อยจะปกตินัก โดยอาจมีเรื่องไม่เข้าใจกันกับคนในบ้านโดยไม่สมเหตุสมผล
หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการนอนหลับ
การนอนหลับไม่ได้ขึ้นอยู่แค่จำนวนชั่วโมงในการนอน ความลึกของการนอนหลับกับเวลาที่เข้านอนก็มีความสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆบางคนอาจเคยสังเกตว่า ถึงแม้จะนอนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอ แต่ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ กลิ่งไปกลิ่งมาทั่งคืน ตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รู้สึกสดชื่นเท่าที่ควร เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยดีกว่าเกี่ยวกับเรื่องการนอน
- ระยะเวลาในการนอน (duration)
โดยทั่วไประยะเวลาในการนอนที่เหมาะสมนอกจากจะขึ้นอยู่กับอายุแล้ว ยังแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยทั่วไปเด็กต้องการระยะเวลา
ในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่
- คุณภาพของการนอน (quality)
ถ้าคนเรานอนหลับไม่ลึกพอ โดยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สดชื่นเวลาตื่นขึ้นมาตอนเช้า (unrested sleep) ระบบความจำอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้จำอะไรที่เรียนรู้มาไม่ค่อยได้ดีนัก
- เวลาเข้านอน-ตื่นนอน (sleep-wake time)
บางคนที่เปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย เช่น นอนดึกตื่นสายช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนในวันที่เริ่มทำงาน
ในช่วงต้นของสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันจันทร์ เนื่องจากจะต้องปรับตัวให้ตื่นเช้าขึ้น โดยอาจส่งผลให้มีอาการง่วงนอนในช่วงเวลาทำงาน
ในตอนกลางวัน และ ถ้าในวันนั้นง่วงมากทนไม่ไหวจนต้องนอนหลับในช่วงเย็นก็อาจมีผลให้นอนไม่ค่อยหลับในคืนนั้น
การติวเข้านักเรียนเตรียมทหาร
เทคนิคในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักเรียนเตรียมทหาร
R-top = Ready TO be Pre-cadet
1. | ใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัว 1 ปีขึ้นไป ทั้งทางด้านวิชาการและร่างกาย |
2. | เริ่มต้นตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ทบทวนพื้นฐานทุกวิชาทุกเรื่องตั้งแต่ ม.1 – ม.4 จนเทอมแรกทุกคนจะต้องมีพื้นฐานที่ดีแล้ว ใช้เวลาช่วงเสาร์-อาทิตย์ ในการไปเรียนกวดวิชาตามสถานบันต่างๆ ช่วง จันทร์ – ศุกร์ หาแบบฝึกหัดจากสถาบันต่าง (ไม่ใช่แค่ข้อสอบเก่าเตรียมทหาร) มาทำทุกวัน ให้เวลากับการอ่านหนังสือเพื่อเข้าเตรียมทหารวันละ 2-3 ชั่วโมง (เนื้อหา 70% แบบฝึกหัด 30%) |
3. | ช่วงปิดเทอมตุลาคมเข้าคอร์สติวเข้ม ทบทวนเนื้อหาและและแบบฝึกหัด (เนื้อหา 50% แบบฝึกหัด 50%) เป็นช่วงที่จะได้มีโอกาสฝึกระเบียบวินัยไปพร้อมๆ กับเพื่อนๆ |
4. | ช่วงเทอมสองเป็นช่วงที่ต้องทำแบบฝึกหัดจากสถาบันต่างๆ ให้มากๆเกณฑ์ (เนื้อหา 30% แบบฝึกหัด 70%) คะแนนจากการทดสอบในแต่ละครั้งจะต้องไม่เกิน 60% ถึง จะมีแนวโน้มที่จะสอบติด เมื่อวิชาการผ่านเกณฑ์แล้วร่างกายก็ต้องอย่าให้ดรอปลง ต้อง วิ่ง ว่ายน้ำ ดึงข้อ เป็นประจำ คุมน้ำหนักและความสูงให้อยู่ใน ต้องมีวินัยในการเรียนและออกกำลังกายเหมือนกับเทอมแรกนะครับ |
5. | ช่วงโค้งสุดท้าย พื้นฐานต้องแน่นแล้วครับ ทำโจทย์ทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 200 ข้อเป็นอย่างน้อยในทุกๆ วิชา ตลอดระยะเวลา 1 เดือนนะครับ (เนื้อหา 10% แบบฝึกหัด 90%) ร่างกายต้องพร้อมอยู่เสมอด้วยนะครับเตรียมการสำหรับท่าต่างๆที่ต้องใช้ในการสอบรอบสองไว้แต่เนิ่น |
การออกกำลังกาย
ออกกำลังกาย คือ การทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงหรือเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกายและควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น ดังนี้
- ความทนทาน (Endurance) ช่วยให้หัวใจแข็งแรง เพื่อร่างกายจะได้ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ดีขึ้น และไม่เหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหนัก ๆ
- ความแข็งแรง (Strenght) ช่วยให้แบกของหนัก ออกแรง รวมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
- การทรงตัว (Balance) ช่วยให้ทรงตัว รวมทั้งเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่หกล้มได้ง่าย
- ความยืดหยุ่น (Flexibility) ช่วยให้ยืดตัว เอี้ยวตัว หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ง่ายขึ้น
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) การออกกำลังกายประเภทนี้ถือว่าสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจดีขึ้น ช่วยขยายผนังหลอดเลือด ลดความดันโลหิต เผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบ และเพิ่มระดับไขมันดี ทั้งนี้ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกควบคู่กับการลดน้ำหนักยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ควรทำกิจกรรมต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือสัปดาห์ละ 150 นาที เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ จ็อกกิ้ง ปั่นจักรยาน หรือทำกิจกรรมเข้าจังหวะ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายแบบแอโรบิกควรอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่ควรหักโหมจนหายใจไม่ทัน เวียนศีรษะ เจ็บหรือแน่นหน้าอก หรือรู้สึกแสบร้อนกลางทรวงอก ทั้งนี้ ควรอบอุ่นร่างกายหรือคลายกล้ามเนื้อทุกครั้ง จิบน้ำระหว่างออกกำลังกายให้เพียงพอ ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ป่วยเป็นโรคหัวใจวาย หรือโรคไต ควรจำกัดปริมาณของเหลวตามแพทย์สั่ง ไม่ควรดื่มน้ำขณะออกกำลังกายมากเกินไป อีกทั้งควรแต่งตัวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในกรณีที่ออกกำลังกลางแจ้ง และไม่ออกกำลังในที่ที่อากาศหนาวหรือร้อนเกินไป เนื่องจากอาจเป็นลมแดด หากอากาศร้อนมาก หรืออุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงในกรณีที่อากาศหนาวจัด
- การออกกำลังแบบฝึกกล้ามเนื้อ (Strenght Training) ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อตามอายุที่มากขึ้น การออกกำลังฝึกกล้ามเนื้อจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อที่สูญเสียไปได้ โดยสามารถใช้อุปกรณ์สำหรับฝึกกล้ามเนื้อ ยางยืดสำหรับออกกำลังกาย หรือของใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านมาประยุกต์สำหรับฝึกกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ ควรบริหารกล้ามเนื้อมัดใหญ่สัปดาห์ละ 2 วันหรือมากกว่านั้น และฝึกกล้ามเนื้อครั้งละประมาณ 30 นาที โดยห้ามฝึกกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันติดกัน 2 วัน การออกกำลังชนิดนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง กระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยจัดท่าทางร่างกายและการทรงตัว รวมทั้งลดอาการตึงหรือปวดบริเวณหลังส่วนล่างและข้อต่อ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังฝึกกล้ามเนื้อควรคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นสำคัญซึ่งทำได้ ดังนี้
- ควรเริ่มยกเวทหรือดัมเบลที่มีน้ำหนักประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้ โดยเริ่จากน้ำหนักเบาก่อน แล้วค่อยเพิ่มน้ำหนักขึ้น เนื่องจากการเริ่มฝึกด้วยอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากเกินไปจะทำให้บาดเจ็บได้
- ค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการฝึกกล้ามเนื้อ
- อุปกรณ์ที่ใช้ฝึกกล้ามเนื้อควรมีน้ำหนักที่ผู้ฝึกสามารถบริหารกล้ามเนื้อในแต่ละเซตได้อย่างน้อย 8 ครั้ง ไม่ควรมีน้ำหนักมากเกินไปจนไม่สามารถฝึกครบจำนวนครั้งในแต่ละเซต
- ควรฝึกกล้ามเนื้อแต่ละท่า โดยเริ่มยกหรือออกแรงฝึก 3 วินาที ค้างไว้ 1 วินาที และกลับมาอยู่ท่าเริ่มต้นอีก 3 วินาที ทั้งนี้ ไม่ควรทิ้งอุปกรณ์ทันที แต่ควรผ่อนลงช้า ๆ
- ควรฝึกกล้ามเนื้อแต่ละท่าให้ได้ประมาณ 10-15 ครั้ง หากทำได้ไม่ครบ อาจทำเท่าที่ได้ก่อน แล้วค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้น
- ไม่ควรกลั้นลมหายใจขณะฝึกกล้ามเนื้อ เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหัวใจ
- ควรหายใจสม่ำเสมอขณะออกกำลัง โดยหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก หรือหายใจเข้าและออกทั้งทางจมูกและปากได้ในกรณีที่รู้สึกหายใจไม่สะดวก ทั้งนี้ ควรหายใจออกเมื่อออกแรงฝึก และหายใจเข้าเมื่อผ่อนแรงลง
- ควรออกกำลังในแต่ละท่าอย่างช้า ๆ และถูกจุดที่บริหาร ไม่ควรรีบจนเกินไป เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
- ไม่ควรเกร็งข้อต่อแขนหรือขาขณะอยู่ในท่าเกร็งกล้ามเนื้อที่ฝึก
- อาการปวดและเมื่อยล้ากล้ามเนื้ออาจปรากฏประมาณ 2-3 วัน หลังจากฝึกกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากออกกำลังกายซ้ำมาสักประมาณ 2-3 สัปดาห์
โรงเรียนเตรียมทหาร
ประวัติ
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอกปิยะ สุวรรณพิมพ์
ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ โดยสมบูรณ์ ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่พระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2504
ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก และกองร้อยทหารสื่อสารซ่อมบำรุงเขตหลังกองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นนที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่มอีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา
ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอกวรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารและการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่างๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียนนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น
โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541
ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารเข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)